วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

表示ラベル2


4.消費期限   VS   賞味期限

เอาล่ะ มาถึงประเด็นสำคัญ
เคยรู้มั้ย? ว่าวันหมดอายุของอาหารญี่ปุ่นมันมี 2 แบบ นะ ฮั่นแน่ ไม่เคยรู้ล่ะสิ  เดี๋ยวจะบอกให้ฟัง

消費期限  しょうひきげん    วันหมดอายุ ( ถ้ากินเลยวันที่กำหนดอาจท้องเสียได้)
( 開封していない状態で、表示されている保存方法に従って保存したときに、食べても安全な期限 )
消費  しょうひ การอุปโภคบริโภค  
期限 きげん  ระยะเวลาที่กำหนด
表示されている日が過ぎて、まだ食べなかったら、お腹を壊す場合があるかもしれないので、注意しましょう!


 ส่วน    賞味期限  しょうみきげん วันหมดอายุความอร่อย ( ถ้ากินเลยวันที่กำหนดอาจไม่อร่อย แต่ไม่ท้องเสีย)
( 開封していない状態で、表示されている保存方法に従って保存したときに、おいしく食べられる期限 )
賞味 しょうみ  การลิ้มชิมรส
表示されている日が過ぎて、まだ食べなかったら、味が変わる場合があるかもしれないので、注意しましょう!


อย่างของในรูปเขียนว่า  缶底に記載 かんぞこにきさい เขียนอยู่ใต้กระป๋อง ( ให้ไปดูเอาเองนะ อิอิ)
缶底 かんぞこ ใต้กระป๋อง
記載 きさい การเขียนบันทึกลง การจดบันทึก


เกร็ดความรู้ !
消費期限又は賞味期限の項目名を表示した上で、「年」「月」「日」の 順で表示します
วันหมดอายุของญี่ปุ่น เค้าเรียงจาก  ปี  เดือน  วัน  นะเออ
และถ้าขนมหรืออาหารชนิดไหนมีวันหมดความอร่อย 賞味期限 เกิน 3 เดือน อนุญาตให้เขียนแค่ ปี กับ  เดือน ได้ แต่จะหมดความอร่อยภายในสิ้นเดือนนั้น














5.保存方法 ほぞんほうほう  วิธีเก็บรักษา もともとの品質があるように保つ方法

保存  ほぞん    การเก็บรักษาไว้ในสภาพที่เหมือนเดิม
方法  ほうほう  วิธีการ

ในที่นี้ก็เขียนว่า 直射日光・高温・多湿の所を避けて保存してください。
แปลว่า กรุณาเก็บโดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง พื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและพื้นที่ที่มีความชื้นสูง

 直射日光 ちょくしゃにっこう  แสงแดดส่องถึง
高温  こうおん  อุณหภูมิสูง
多湿 たしつ  ความชื้นสูง











6. 製造者 (加工者・販売者・輸入車) 

製造者 せいぞうしゃ ผู้ผลิตสินค้า       品物を作る人
แบ่งเป็น

加工者 かこうしゃ          ผู้แปรรูป/ผู้ดำเนินการ  原料から品物にする人
販売者 はんばいしゃ    ผู้จำหน่าย 売る人
輸入者 ゆにゅうしゃ  ผู้นำเข้า 輸入する人

จากรูป บอกแค่ 販売者(ผู้จำหน่าย) ซึ่งก็คือ 株式会社 ロッテ NM3 ห้างหุ้นส่วนจำกัดลอตเต้ NM3 นั่นเอง
株式会社 かぶしきがいしゃ ห้างหุ้นส่วนจำกัด / บริษัทหุ้นส่วนจำกัด

 ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

จบแล้วค่าาา  เป็นยังไงกันบ้างคะ หิวละสิ ฮ่าาาา  ผู้เขียนก็หิว - -


       จากการเขียนบล็อกครั้งนี้ก็ทำให้รู้คำศัพท์เกี่ยวกับฉลากอาหารหรือขนมของญี่ปุ่นหลายคำเลย และยังสามารถต่อยอดไปสู่คำศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น คำว่า 加工者 หรือ   直射日光 เป็นต้น และได้เกร็ดความรู้อื่นๆที่เคยไม่รู้มาก่อน อีกด้วย  เช่น เรื่องวันหมดอายุ เป็นต้น  และคิดว่าตนบรรลุวัตถุประสงค์  รู้สึกว่าตนเองได้ลองฝึกคิด ฝึกเขียน  ฝึกหาข้อมูล และได้คำศัพท์เกินเป้าหมายค่ะ
       ต่อจากนี้ก็สามารถอ่านฉลากขนมญี่ปุ่นเข้าใจแล้วค่ะ เย้!

       แล้วเจอกันใหม่ค่ะ ^^


表示ラベル1


วันนี้เปิดตู้เย็นหยิบขนมออกมา ขณะที่กำลังจะกินก็เหลือบไปเห็นฉลากข้างๆบอกว่าวันนี้เป็นวันหมดอายุ  เลยคิดเล่นๆว่า ถ้าเราไปกินขนมญี่ปุ่นเนี่ย มันเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วเราจะรู้มั้ยนี่ว่ามันจะหมดอายุแล้ว ขนาดแค่ขนมไทยยังไม่ค่อยจะดูกันเลย ว่าแล้วก็ลองค้นดูดีกว่าว่าฉลากในภาษาญี่ปุ่นนี่มีบอกอะไรมั่ง 















นี่คือน่าตาของฉลากที่ติดอยู่ข้างๆของกินนะคะ




















มาดูแต่ละส่วนกันมั่งดีกว่าว่าบอกถึงอะไรบ้าง
อ้อ เราเรียก ฉลากของกินพวกนี้ว่า    表示ラベル” (ひょうじラベル) ค่ะ


1.名称 めいしょう ชื่อเรียกที่ใช้กันโดยทั่วไปในสังคม เช่น ชื่อองค์กร หรือ กลุ่มบุคคลเป็นต้น
(団体や組織などの社会的に通用する呼び名)     一般的に知っている名前

เช่น  製品の名称 学校の名称 村の名称 เป็นต้น

通用 つうよう การใช้กันแพร่หลาย  การใช้กันทั่วๆไป 
เช่น    英語は一般的に通用する。ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
         この切符はいつまで通用するか? ตั๋วใบนี้ใช้ได้ถึงเมื่อไหร่

ถ้าเป็น 名称 ในอาหาร ก็จะเป็นชื่อที่บอกถึงชนิดหรือประเภทของอาหารชนิดนั้นที่รู้กันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะระบุอย่างเจาะจงเลย เช่น ビスケット、クラッカー、デセール、マコロン、 フィンガー、クッキ
หรือ อาจจะบอกว่าเป็นจำพวก焼菓(พวกอบ)  菓子(พวกทำจากข้าว)  洋菓(พวกขนมตะวันตก) ก็ได้












2.原材料名 げんざいりょうめい ชื่อส่วนผสม 原料または材料の名前

原材料 げんざいりょう วัตถุดิบ  วัสดุที่ใช้ผลิต

ในรูปนี้ก็มี เช่น  小麦粉 こむぎこ แป้งข้าวสาลี   , 砂糖น้ำตาล เป็นต้น

คำว่า原材料  มันหมายรวมถึง  原料 กับ 材料    นั่นล่ะ(สังเกตคันจิ)   ว่าแต่  ทั้งสองคำนี้ต่างกันยังไงน้า?

料 (げんりょう) วัตถุดิบก่อนแปรรูป อยากให้สังเกตคำว่า ซึ่งแปลว่า ที่มีมาแต่แรกเริ่ม
材料 (ざいりょう)   วัสดุ วัตถุดิบ ส่วนประกอบ(ของอาหาร)

เช่น หากเราจะทำขนมปัง      原料 = ข้าวสาลี           材料= แป้งข้าวสาลี
หากเราจะทำสมุดโน้ต          原料 = เยื่อไม้               材料= กระดาษ
เข้าใจตรงกันนะ!












3.内容総量 ないようそうりょう ปริมาณหรือน้ำหนักทั้งหมดของขนมหรืออาหารนั้นๆ 

全ての 中身の重さ

内容     ないよう    สาระ  ใจความ  เนื้อหาที่บรรจุภายใน
総量    そうりょう     ปริมาณทั้งหมดหรือน้ำหนักทั้งหมด


ในที่นี้ก็ 57 g. (袋入) = 57 กรัม  (มี 3 ถุงใน1ห่อ )


(มีต่อภาคสองค่ะ)