วันนี้เปิดตู้เย็นหยิบขนมออกมา ขณะที่กำลังจะกินก็เหลือบไปเห็นฉลากข้างๆบอกว่าวันนี้เป็นวันหมดอายุ เลยคิดเล่นๆว่า ถ้าเราไปกินขนมญี่ปุ่นเนี่ย มันเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วเราจะรู้มั้ยนี่ว่ามันจะหมดอายุแล้ว ขนาดแค่ขนมไทยยังไม่ค่อยจะดูกันเลย ว่าแล้วก็ลองค้นดูดีกว่าว่าฉลากในภาษาญี่ปุ่นนี่มีบอกอะไรมั่ง
นี่คือน่าตาของฉลากที่ติดอยู่ข้างๆของกินนะคะ
มาดูแต่ละส่วนกันมั่งดีกว่าว่าบอกถึงอะไรบ้าง
อ้อ เราเรียก ฉลากของกินพวกนี้ว่า “ 表示ラベル” (ひょうじラベル) ค่ะ
1.名称 めいしょう ชื่อเรียกที่ใช้กันโดยทั่วไปในสังคม
เช่น ชื่อองค์กร หรือ กลุ่มบุคคลเป็นต้น
(団体や組織などの社会的に通用する呼び名。) 一般的に知っている名前
เช่น 製品の名称 学校の名称 村の名称 เป็นต้น
通用 つうよう การใช้กันแพร่หลาย การใช้กันทั่วๆไป
เช่น 英語は一般的に通用する。ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
この切符はいつまで通用するか? ตั๋วใบนี้ใช้ได้ถึงเมื่อไหร่
ถ้าเป็น 名称 ในอาหาร ก็จะเป็นชื่อที่บอกถึงชนิดหรือประเภทของอาหารชนิดนั้นที่รู้กันโดยทั่วไป
ส่วนใหญ่จะระบุอย่างเจาะจงเลย เช่น ビスケット、クラッカー、デセール、マコロン、 フィンガー、クッキー
หรือ อาจจะบอกว่าเป็นจำพวก焼菓子(พวกอบ) 米菓子(พวกทำจากข้าว) 洋菓子(พวกขนมตะวันตก) ก็ได้
2.原材料名 げんざいりょうめい ชื่อส่วนผสม 原料または材料の名前
原材料 げんざいりょう วัตถุดิบ วัสดุที่ใช้ผลิต
ในรูปนี้ก็มี เช่น 小麦粉 こむぎこ แป้งข้าวสาลี , 砂糖น้ำตาล เป็นต้น
คำว่า原材料 มันหมายรวมถึง 原料 กับ 材料
นั่นล่ะ(สังเกตคันจิ) ว่าแต่ ทั้งสองคำนี้ต่างกันยังไงน้า?
原料 (げんりょう) วัตถุดิบก่อนแปรรูป อยากให้สังเกตคำว่า
原 ซึ่งแปลว่า
ที่มีมาแต่แรกเริ่ม
材料 (ざいりょう)
วัสดุ วัตถุดิบ ส่วนประกอบ(ของอาหาร)
เช่น หากเราจะทำขนมปัง 原料 = ข้าวสาลี 材料= แป้งข้าวสาลี
หากเราจะทำสมุดโน้ต 原料 = เยื่อไม้ 材料= กระดาษ
เข้าใจตรงกันนะ!
3.内容総量 ないようそうりょう ปริมาณหรือน้ำหนักทั้งหมดของขนมหรืออาหารนั้นๆ
全ての 中身の重さ
全ての 中身の重さ
内容 ないよう สาระ ใจความ เนื้อหาที่บรรจุภายใน
総量 そうりょう ปริมาณทั้งหมดหรือน้ำหนักทั้งหมด
ในที่นี้ก็ 57 g. (3 袋入) = 57 กรัม (มี 3 ถุงใน1ห่อ )
(มีต่อภาคสองค่ะ)
มีวิธีจำระหว่าง 原料 กับ 材料 ให้ด้วย ทำให้เราเข้าจะกระจ่างแจ้ง อาริงาโต้ววว
ตอบลบสิ่งรอบตัวนี่ทำให้เรียนรู้ได้เหมือนกันเนอะ เดี๋ยวไปหามั่งดีกว่าว่าใกล้ตัวมีของอะไรให้มาอัพเป็นศัพท์คังโกะได้มั่ง อิอิ >.< รออ่านบล็อกต่อๆไปน้า
ขอบคุณค่ะ อิอิ
ลบ